top of page

การขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร กรณีเข้าข่ายโรงงาน

                    สถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน หมายถึงสถานที่ผลิตอาหารที่ประกอบกิจการโดยใช้คนงาน เจ็ดคนขึ้นไปหรือใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป

การขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร กรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน

ให้ยื่นเอกสารดังต่อไปนี้

  1. แบบ อ.1 จำนวน 1 ฉบับ

  2. สําเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ผลิตและสถานที่เก็บอาหาร จำนวน 1 ฉบับ (กรณีที่ทะเบียนบ้านที่ไม่มีเจ้าบ้าน ให้แนบสำเนาโฉนดของที่ดินตามทะเบียนบ้าน / สำเนาสัญญาซื้อขายสิ่งปลูกสร้าง/สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน 1 ฉบับ)

  3. กรณีบุคคลธรรมดา

    • สําเนาทะเบียนบ้านของผู้ดำเนินกิจการ จำนวน 1 ฉบับ​

    • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ดำเนินกิจการ จำนวน 1 ฉบับ

  4. กรณีนิติบุคคล

    • สําเนาทะเบียนบ้านของผู้ดำเนินกิจการ จำนวน 1 ฉบับ​

    • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ดำเนินกิจการ จำนวน 1 ฉบับ

    • หนังสือรับรองการจดทะเบียนที่ออกไม่เกิน 6 เดือน                จำนวน 1 ฉบับ

    • สำเนาหนังสือบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) จำนวน 1 ฉบับ

    • หนังสือมอบอำนาจแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการ จำนวน 1 ฉบับ

    • สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการที่ลงนามในหนังสือมอบอำนาจ จำนวน 1 ฉบับ

  5. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของสถานที่ผลิตและสถานที่เก็บอาหาร

    • กรณีใช้สถานที่ของผู้อื่น ใช้หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่  ฉบับจริง พร้อมแนบสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของสถานที่ อย่างละ 1 ฉบับ​

    • กรณีเช่าสถานที่ ใช้สำเนาสัญญาเช่า พร้อมแนบสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของสถานที่ อย่างละ 1 ฉบับ​ หากผู้ให้เช่าเป็นนิติบุคคล ให้ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล จำนวน 1 ฉบับ

    • หมายเหตุ : กรณีเป็นเจ้าบ้านเอง ไม่ต้องแนบเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์เพิ่มเติม

  6. รายการเครื่องจักร เครื่องมือ พร้อมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในการผลิต รวมทั้งจํานวนคนงาน จำนวน 1 ฉบับ

  7. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ผลิตและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง จำนวน 1 ฉบับ

  8. แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณที่ดินของสถานที่ผลิต จำนวน 1 ฉบับ

  9. แบบแปลนแผนผังของสถานที่ผลิตและสถานที่เก็บอาหาร          (ถ้ามี) ที่ถูกต้องตามมาตราส่วน จำนวนสถานที่ละ 1 ฉบับ          (ดูวิธีวาดแบบแปลนตามไฟล์รายละเอียดของแบบแปลนแผนผัง)

  10. แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ผลิตอาหาร จำนวน 1 ฉบับ

  11. หากใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรหรืออุปกรณ์การผลิตร่วมกันสำหรับการผลิตอาหารหลายชนิด ต้องแสดงมาตรการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม

หากเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว ให้ยื่นเอกสารหลักฐานดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารแล้วพบว่าครบถ้วน เจ้าหน้าที่จึงจะออกตรวจสถานที่เพื่อประกอบการอนุญาตต่อไป   

ค่าธรรมเนียมตามมาตรา 44 :

ค่าพิจารณาคำขอ : 2,000 บาท (ชำระวันที่ยื่นคำขอ)
ค่าตรวจสถานประกอบการ : ชำระตามตารางค่าตรวจสถานประกอบการ (ชำระวันที่ยื่นคำขอ)

ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต : ชำระตามตารางค่าธรรมเนียมใบอนุญาต (ชำระวันที่มารับใบอนุญาต)

pdf.png

รายละเอียดของแบบแปลนแผนผัง.

pdf.png

รายการแสดงเอกสารแสดงรายละเอียดต่างๆ และตัวอย่าง.

pdf.png

หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่.

pdf.png

แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ผลิตอาหาร.

pdf.png

ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทนด้านอาหาร.

pdf.png

ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการ.

pdf.png

แบบตรวจสอบคำขอ กรณียื่น อ.1

ตารางค่าตรวจสถานประกอบการ

(คิดตามแรงม้าเครื่องจักรและจำนวนคนงาน)

ขนาดแรงม้าเครื่องจักร/จำนวนคนงาน*

ค่าตรวจสถานที่

5 - 20 แรงม้า / คนงาน 7 - 50 คน

5,000 บาท

มากกว่า 20 - 50 แรงม้า / คนงาน 51 - 100 คน

10,000 บาท

15,000 บาท

มากกว่า 50 - 100 แรงม้า / คนงาน 101 - 200 คน

มากกว่า 100 แรงม้า / คนงานมากกว่า 200 คน

20,000 บาท

ตารางค่าธรรมเนียมใบอนุญาต

(คิดตามแรงม้าเครื่องจักรและจำนวนคนงาน)

ขนาดแรงม้าเครื่องจักร/จำนวนคนงาน*

ค่าตรวจสถานที่

3,000 บาท

น้อยกว่า 2 แรงม้า และมีคนงาน 7 - 19 คน

น้อยกว่า 2 แรงม้า และมีคนงานมากกว่า 20 คน

5,000 บาท

เครื่องจักรตั้งแต่ 2 แรงม้าแต่ไม่ถึง 10 แรงม้า

6,000 บาท

เครื่องจักรตั้งแต่ 10 แรงม้าแต่ไม่ถึง 25 แรงม้า

7,000 บาท

เครื่องจักรตั้งแต่ 25 แรงม้าแต่ไม่ถึง 50 แรงม้า

8,000 บาท

10,000 บาท

เครื่องจักรตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป

ติดต่อกลุ่มงาน

กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี

160 หมู่ 3 ถ.อุทัย-หนองฉาง ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี 61000

โทรศัพท์ :  056-511565 ต่อ 105

E-Mail : fdauthai@hotmail.com

Visitor

bottom of page